วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กะเหรี่ยงหูยาว หรือ ชาวคะยอ.(กะยอ).


ประวัติความเป็นมา


ถิ่นฐานดั้งเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า ๒๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมาได้หนีภัยสงครามมาอยู่ที่ธิเบต และเมื่อถูกรุกรานจากกองทัพจีนก็ถอนลงมาทางใต้เรื่อยๆ จนกระทั่งลงมาถึงดินแดนลุ่มแม่น้ำสาละวินในเขตพม่า กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนชาติพันธ์ที่อาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย กะเหรี่ยงในประเทศไทยเป็นกะเหรี่ยงที่อพยพจากประเทศพม่าทั้งสิ้น จำนวนประชากรในปัจจุบัน กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าราว ๒.๖ ล้านคน และในประเทศไทยราว ๔๐๐,๐๐๐ คน



กะเหรี่ยงกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ

กะเหรี่ยงสะกอ

กะเหรี่ยงโปว

กะเหรี่ยงคะยา

กะเหรี่ยงตองสูหรือตองตู

นอกจากนี้ยังมีกะเหรี่ยงกลุ่มเล็ก ๆ อีก ๒ กลุ่ม คือ

ปาดอง (กะเหรี่ยงคอยาว)

กะยอ (กะเหรี่ยงหูยาว)






การแต่งกายของเผ่ากะเหรี่ยง

การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำกลุ่มมักเป็นได้จากการแต่งกายของผู้หญิง เสื้อสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาย นั่นคือ ความอดทนแข็งแรง เสื้อสีแดงของชายกะเหรี่ยงเน้นเสื้อทรงสอบ คอเสื้อเป็นรูปตัววี ตรงชายเสื้อติดพู่ห้อยลงมา ผู้หญิงกะเหรี่ยงสะกอที่ยังไม่แต่งงานใส่ชุดทอด้วยมือทรงสอบ สีขาว ยาวคร่อมเท้า ชุดขาวนี้เรียกว่า “เช้ว้า” ใส่ตั้งแต่เด็กจนถึงวันแต่งงานจึงจะเปลี่ยนใส่ชุดขาว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ผู้หญิงกะเหรี่ยงสะกอที่แต่งงานแล้วสวมเสื้อประดับประดาด้วยลูกเดือยและฝ้ายสี เสื้อของหญิงที่แต่งงานแล้ว ต้องมีลายปัก ต้องมีการปักลูกเดือย สำหรับนับถือผีและพุทธ ส่วนศาสนาคริสต์ไม่จำเป็นต้องปักลูกเดือย จะใส่ผ้าซิ่นที่มีลายถี่ ผ้าซิ่นของหญิงที่แต่งงานแล้วและนับถือคริสต์จะไม่มีลายถี่



ภาษาของเผ่ากะเหรี่ยง

ภาษากะเหรี่ยงที่มีการพูดในประเทศไทยมากที่สุดคือ ภาษากะเหรี่ยงสะกอ และภาษากะเหรี่ยงโป ทั้งสองภาษาแบ่งออกเป็นคนละภาษา เพราะแตกต่างกันในเรื่องของระบบเสียง และคำศัพท์ค่อนข้างมาก ทั้งที่พูดอยู่ประเทศไทยและพม่า ก็อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino –Tibetan Language Family) เหมือนกัน ภาษาสาขากะเหรี่ยงมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากภาษาในสาขาธิเบต คือภาษาในสาขากะเหรี่ยงจะมีการเรียงลำดับคำในประโยคเป็นประธาน–กริยา-กรรม แต่ภาษาในสาขาธิเบตจะมีการเรียงลำดับคำในประโยคเป็น ประธาน-กรรม-กริยา ภาษากระเหรี่ยงโปที่มีพูดกันอยู่ในประเทศไทยนั้นมีผู้ศึกษา และแบ่งภาษาถิ่นของกะเหรี่ยงโปตามบริเวณพื้นที่ตั้งถิ่นที่อยู่ของชาวกะเหรี่ยงโปเป็น

๓ กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ ๑ เป็นภาษากะเหรี่ยงโปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

กลุ่มที่ ๒ เป็นภาษากะเหรี่ยงโปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดลำพูนและลำปาง

กลุ่มที่ ๓ เป็นภาษากะเหรี่ยงโปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย แพร่ ตาก

และกาญจนบุรี (Joseph R. Cook และ คณะ 1976:188)

จากการศึกษาภาษาถิ่นกะเหรี่ยงในระยะต่อๆ มายึดเกณฑ์การพูดเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นหลัก ภาษาถิ่นของภาษากะเหรี่ยงโปที่ใช้พูดกันในบริเวณภาคเหนือ ของประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มที่ ๑ ภาษากะเหรี่ยงโปลำปาง ได้แก่ ภาษากะเหรี่ยงโปที่พูดกันในจังหวัดลำปาง และบางส่วนในจังหวัดเชียงราย

กลุ่มที่ ๒ ภาษากะเหรี่ยงโปถิ่นเหนือ ได้แก่ภาษากะเหรี่ยงโปที่พูดกันในจังหวัดลำพูน แพร่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและบางส่วนในจังหวัดเชียงราย



ประเพณีและวัฒนธรรม

ด้วยความเชื่อและนับถือในเรื่องผี-วิญญาณ ชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณี และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผีอยู่เสมอ ผีที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือมีอยู่ ๒ อย่าง คือ ผีดี กับ ผีร้าย ผีดีคือผีบ้าน ซึ่งมีหน้าที่ดูและรักษาหมู่บ้านหรือผีเจ้าที่นั่นเอง และผีเรือน คือผีบรรพบุรุษ เช่น ผีปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้ว วิญญาณยังวนเวียน คุ้มครองลูกหลานอยู่ ชาวกะเหรี่ยงจะมีพิธี เซ่น บวงสรวงบูชาผีเรือนอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง เพื่อให้ปลอดภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือรอดพ้นจากภัยทั้งปวง นอกจากการเลี้ยงผีบ้านผีเรือนแล้ว ชาวกะเหรี่ยงยังมีพิธีเลี้ยงผีไร่ ผีนา ผีป่า ผีดอย อีกด้วย ทั้งนี้โดยอาศัยหมอผีผู้มีความรู้ในเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา เน้นผู้ประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีเหล่านี้ ซึ่งอาจจะมีทั้งผีดีและผีร้าย ที่อยู่ตามป่าเขาลำธารทั่วไป คอยลงโทษผู้ที่ผ่านไปให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น ความเชื่อถือในเรื่องผีและวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง จึงมีผลดีต่อสังคมชาวกะเหรี่ยงอย่างมาก และทำให้เกิดคุณธรรมขึ้น เพราะไม่มีใครกล้าทำความผิดแม้แต่ต่อหน้าและลับหลัง เช่น การลักขโมยหรือการผิดลูกผิดเมียผู้อื่น แม้คนไม่เห็นแต่ผีเห็นเสมอ เป็นต้นนอกจากการนับถือผีแล้ว ชาวกะเหรี่ยงยังนับถือศาสนาคริสต์ และพุทธศาสนาอีกด้วย ซึ่งก่อให้เกิดเป็นประเพณีและวัฒนธรรมในเผ่าขึ้นขึ้น เช่น ประเพณีปีใหม่ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีเกี้ยวสาว และแต่งงาน หรือแม้กระทั่งประเพณีงานศพประเพณีปีใหม่ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดของชาวกะเหรี่ยง โดยถือกำเนิดเอาเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี แต่การจัดงานอาจจะไม่ตรงกันทุกปีก็ได้ แล้วแต่หัวหน้าหมู่บ้านหรือฮีโข่ จะแจ้งให้ทราบ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นระยะเวลาก่อนจะถึงฤดูกาลการเกษตร คือ หลังจากงานปีใหม่แล้วกะเหรี่ยงจะเริ่มทำงานในไร่ ในนา ทันที



๑ พิธีปีใหม่

ทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจะหมักเหล้าเตรียมเอาไว้ เมื่อถึงวันกำหนดงาน หมอผีจะประกอบพิธีให้ โดยเริ่มจากบ้านของฮีโข่ หรือ หัวหน้าหมู่บ้านก่อนเป็นหลังแรก แล้วกระทำต่อไปจนครบทุกหลังคาเรือน ซึ่งกินเวลาถึง ๓ วัน กว่าจะเสร็จ โดยพิธีกรรมก็คือ มีการนำเหล้า และไก่มาบวงสรวงต่อผีและวิญญาณ จากนั้นก็จะดื่มเหล้ากันตามประเพณีและทำพิธีผูกข้อมือด้วยสายสินจญ์ เสกมนต์คาถาอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุขทุกบ้าน





๒ การผูกข้อมือ

นี้กะเหรี่ยงมักนิยมทำกันในงานพิธีมงคลต่างๆ เรียกว่า กี่จี๊ หรือการมัดมือ เสร็จแล้วก็เลี้ยงฉลองกันอย่างสนุกสนานรื่นเริง งานประเพณีปีใหม่นี้ไก่และหมูจะถูกฆ่านำมาเป็นเครื่องเซ่นไหว้ผี และนำมาเลี้ยงกันอย่างทั่วถึงในหมู่บ้านแต่ละแห่ง



๓ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่

พิธีนี้จะจัดขึ้นเมื่อชาวกะเหรี่ยงสร้างบ้านเรือนใหม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นละมีความสำคัญมาก เพราะชาวกะเหรี่ยงถือว่าถ้าหากสร้างบ้านเสร็จแล้วไม่ได้ทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ ผู้เข้าอยู่อาศัยก็จะไม่มีความสุข ดังนั้น พิธีขึ้นบ้านใหม่ของชาวกะเหรี่ยงจึงถูกจัดขึ้นโดยการจัดเลี้ยงสุรา อาหาร ฆ่าหมู ไก่ เลี้ยงกัน สำหรับแม่บ้านก็จะจัดทำขนดหรือข้าวปุก (ข้าวเหนียวตำคลุกงา)และข้าวต้มมัด เลี้ยงกันอย่างสนุกสนานครึกครื้น มีการร้องเพลงอวยพรให้เจ้าของบ้านด้วย



๔ ประเพณีกินข้าวใหม่

มีชาวเขาหลายเผ่าที่จัดให้มีพิธีนี้ขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบัลดาลให้ได้ผลผลิตอย่างที่หวัง เช่นเดียวกับชาวมูเซอที่จัดงานประเพณีกินข้าวใหม่ ชาวกะเหรี่ยงจะจัดงานพิธีกินข้าวใหม่ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวในไร่นาเสร็จแล้ว ในพิธีเลี้ยงก็จัดคล้ายๆกับประเพณีขึ้นบ้านใหม่ คือ มีการเลี้ยงฉลองในระหว่างเพื่อนบ้านคล้ายหมู่บ้านเดียวกัน

ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ สิ่งเหล่านี้ที่ชาวกะเหรี่ยงมีการนับถือทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ เกือบร้อยละ ๙๐ ถือผี การเลี้ยงผีที่สำคัญ ๆ มี ผีเรือน ผีบรรพบุรุษและผีน้ำ พิธีมัดมือปีใหม่ จัดขึ้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ตอนเช้าของวันพิธีมีการฆ่าควาย แล้วทำอาหารรับประทานกัน มีการต้มเหล้าใช้เวลาประมาณ ๔ - ๕ ชั่วโมงและมีการตำข้าวปุ๊ก

แผ่นศิลาจารึกพระนาม  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติผาแต้ม วันที่  20 พฤษภาคม พ.ศ. 2531...