รอยพญานาค..รูปที่ผมถ่ายไว้กลางแม่น้ำโขง.
ตามรอยพญานาค ทางเดินพญานาคอันศักดิ์สิทธิ์นำพาไปสู่เกาะคำชะโนดหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราวของสัตว์กึ่งเทพ หรือ“พญานาค”กันมาบ้างไม่มากก็น้อย เนื่องจาในแถบอุษาคเนย์ต่างก็มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพญานาคแตกต่างกันออกไปกประเทศสำหรับเมืองไทย จังหวัดหนองคายถือเป็น“เมืองแห่งพญานาค” เพราะนอกจากจะมีคนพบร่องรอยของพญานาคในเมืองนี้อยู่บ่อยครั้งแล้ว ริมโขงเมืองหนองคาย-เวียงจันทน์ยังมี“บั้งไฟพญานาค”ปรากฏการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษาของทุกๆปีเป็นที่โด่งดังขึ้นชื่อลือชาไปไกล และปริศนาเกี่ยวกับพญานาคตามลำน้ำโขงนี่เองที่เป็นเหตุกระตุ้นให้ “ผู้จัดการท่องเที่ยว” เดินทางท่องเที่ยวไปตามรอยพญานาคกันในจังหวัดลุ่มน้ำโขง(ภาคอีสาน) เพื่อศึกษาและเรียนรู้ถึงตำนานความเชื่อของพญานาค สัตว์กึ่งเทพที่สามารถพบเห็นรูปจำลองได้ทั่วตามศาสนสถานต่างๆในดินแดนอุษาคเนย์
1.อนึ่งก่อนที่จะไปเที่ยวตามรอยพญานาคกัน “ผู้จัดการท่องเที่ยว” ของพาทุกท่านย้อนกลับไปในครั้งที่แม่น้ำโขงยังไม่ถือกำเนิดเกิดขึ้น บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าเป็นประตูสู่วังนาคินทร์ สมัยนั้นมีเหล่าพญานาค 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีผู้นำชื่อว่า “สุทโธนาค” ส่วนอีกกลุ่มมีผู้น้ำชื่อ “สุวรรณนาค” อาศัยอยู่ในอาณาจักรแห่งหนึ่งร่วมกันอย่างสงบสุขมาช้านาน โดยวิธีถ้อยทีถ้อยอาศัยหากฝ่ายใดออกไปหาอาหารอีกฝ่ายจะต้องอยู่เฝ้าอาณาจักร และอาหารที่หามาได้จะต้องแบ่งครึ่งกันกิน ต่อมามีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายสุทโธนาคและบริวารออกหาอาหารได้ช้างมา 1 ตัว และจัดแจงแบ่งครึ่งให้อีกฝ่ายตามปกติ ครั้งต่อมาฝ่ายสุวรรณนาคออกหาอาหารแล้วได้เม่นมา 1 ตัว และก็ได้แบ่งครึ่งเม่นนั้นให้อีกฝ่ายเป็นปกติเช่นกัน แต่เมื่อสุทโธนาคเห็นเม่นครึ่งหนึ่งก็เกิดฉงนใจขึ้นว่า ช้างซึ่งขนเล็กๆสั้นๆตนกลับแบ่งให้อีกฝ่ายตั้งเยอะ แต่เม่นซึ่งขนใหญ่กว่าก็แปลว่าเม่นต้องตัวใหญ่กว่าช้างแน่ๆ ทำไมสุวรรณนาคจึงแบ่งมาให้ฝ่ายตนเพียงนิดเดียว ทำให้สุทโธนาคเกิดโมโห แม้สุวรรณนาคจะพยายามอธิบายเท่าไรสุทโธนาคก็ไม่ยอมฟัง มุทะลุดุดันจะหาเรื่องให้ได้ จนในที่สุดก็ทะเลาะกันถึงขั้นรบราฆ่าฟันกันมาถึง 7 ปีหงอนพญานาค 1 ใน 2ชิ้น ที่วัดโพธิ์ชัยเก็บรักษาไว้ภายในตู้โชว์ในพระอุโบสถ ซึ่งการรบพุ่งของทั้งสองฝ่ายทำให้แผ่นดินสะเทือน เหล่าเทวดาฟ้าดินทั้งหลายอยู่ไม่เป็นสุข ความรู้ไปถึงพระอินทร์ จึงได้เรียกพญานาคทั้ง 2 ฝ่ายไปเจรจาสงบศึกโดยให้แต่ละฝ่ายแข่งกันสร้างแม่น้ำ หากฝ่ายใดสร้างไปออกทะเลก่อนเป็นฝ่ายชนะ และจะให้รางวัลเป็นปลาบึกไปประจำที่แม่น้ำแห่งนั้น
ด้วยความที่สุทโธนาคเป็นพญานาคที่มีนิสัยอารมณ์ร้อน มุทะลุ ขณะที่สร้างแม่น้ำหากมีอุปสรรคเช่นภูเขากั้นขวางทาง ก็จะระเบิดภูเขาหรือไม่ก็สร้างลดเลี้ยวไปโดยไม่พยายามที่จะแก้ปัญหา จึงได้แม่น้ำที่มีโขดหิน เกาะแก่งมากมายระเกะระกะ และมีเส้นทางที่ลดเลี้ยวเคียวคดโค้งไปโค้งมามากที่สุด ต่อมาจึงได้ชื่อว่า “แม่น้ำโขง”
ส่วนฝ่ายสุวรรณนาคเป็นพญานาคที่มีนิสัยสุภาพสุขุมใจเย็น จึงค่อยๆสร้างไปเรื่อยๆคิดไปเรื่อย ทำให้แม่น้ำที่สร้างเป็นเส้นตรง แต่ก็ต้องใช้เวลาในการสร้างนานมากจนกลายเป็นที่มาของชื่อ “แม่น้ำน่าน” ซึ่งผลก็คือฝ่ายสุทโธนาคเป็นผู้ชนะ และได้ปลาบึกจากพระอินทร์เป็นรางวัลตามสัญญา จึงได้ถือว่าแม่น้ำนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค ต่อมาเนื่องจากพญานาคเป็นสัตว์เมืองบาดาล ไม่สามารถอยู่บนโลกมนุษย์ได้นาน สุทโธนาคจึงได้ขอให้พระอินทร์กำหนดสถานที่อยู่ให้ชัดเจนและมีทางขึ้นลงระหว่างเมืองบาดาลกับเมืองมนุษย์ ซึ่งพระอินทร์ก็ได้กำหนดจุดที่เป็นประตูเชื่อมต่อไว้ 3 แห่งด้วยกันคือที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว 2 แห่ง และแห่งที่ 3 ให้เป็นที่พำนักของสุทโธนาคคือที่ คำชะโนด จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน
2…หลังจากที่รู้เรื่องราวตำนานท้องถิ่นเกี่ยวกับพญานาค สัตว์กึ่งเทพที่มีอิทธิฤทธิ์กันแล้ว รถก็พาพวกเรามาถึงยัง “เมืองคำชะโนด” อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี และมาหยุดจอดตรงทางเดินพญานาคพอดิบพอดี ทางเดินนี้ดูสวยงามด้วยรูปร่างของพญานาค ซึ่งหากใครจะเดินทางผ่านทางเดินพญานาคแห่งนี้ไปยังเมืองคำชะโนดด้านในจะต้องถอดรองเท้า ถอดหมวกออกด้วยเพื่อเป็นการเคารพและให้เกียรติสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์หรือที่เรียกว่า “วังนาคินทร์” จุดชมบั้งไฟพญานาคที่สำคัญของเมืองโพนพิสัยอยู่ที่วัดไทยแห่งนี้ เพราะเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองบาดาล หากใครได้สังเกตจะเห็นความแปลกของพื้นที่ รอบๆเกาะคำชะโนดจะเป็นทุ่งนาโล่งกว้าง มีเฉพาะที่เกาะคำชะโนดแห่งนี้เท่านั้นที่มีลักษณะเป็นป่าดงดิบประมาณ 20 กว่าไร่ โดยมีไม้หลักคือไม้ชะโนด ถ้าใครนึกไม่ออกว่าต้นชะโนดมีลักษณะเป็นอย่างไร “ผู้จัดการท่องเที่ยว” ขอแนะนำให้นึกภาพต้นไม้ที่มีลักษณะเป็นลูกผสมระหว่างต้นตาล ต้นมะพร้าว และต้นหมาก ดูสูงชะรูดนั้นคือต้นชะโนดนั้นเองทางเดินพญานาคนำพวกเรามาถึงยังเมืองคำชะโนด หรือวังนาคินทร์ หรือ “วัดสิริสุทโธ” ทางด้านซ้ายมือจะมีศาลาที่ประดิษฐานของเจ้าพ่อปู่ศรีสุทโธ หรือสุทโธนาค และเจ้าย่าปทุมมา ส่วนทางด้านขวามือหากเดินตามทางเดินไปเรื่อยๆจะเจอกับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งในตำนานก็คือทางขึ้นลงระหว่างเมืองบาดาลกับโลกมนุษย์ของเหล่าพญานาคที่พระอินทร์ทรงประทานให้สำหรับเหตุที่เชื่อว่าบ่อน้ำแห่งนี้เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากน้ำในบ่อน้ำแห่งนี้ก็ไม่เคยลดแห้งลง จะรักษาระดับอยู่เท่าเดิมตลอดทั้งปี และเคยมีคนเอาไม้ไผ่ 2 ลำมาต่อกันแล้วหยั่งลงไปดุความลึกของน้ำแต่หยั่งไม่ถึง เชื่อกันว่าน้ำในบ่อนี้จะไปทะลุที่สะดือแม่น้ำโขงหรือบริเวณวัดอาฮงศิลาวาส จ.หนองคายในปัจจุบันและความพิเศษของวังนาคินทร์แห่งนี้อีกประการหนึ่งก็คือ มีลักษณะเป็นเกาะที่ลอยน้ำ แม้รอบๆเกาะรวมถึงทางเดินพญานาคจะถูกน้ำท่วม แต่เมืองคำชะโนดแห่งนี้ไม่เคยถูกน้ำท่วมเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะเมื่อน้ำขึ้นเกาะคำชะโนดแห่งนี้ก็จะลอยตามน้ำไปด้วยชมวิวสะดือแม่น้ำโขงและวิวฝั่งประเทศลาวได้ที่วัดอาฮง นอกจากนี้บริเวณวัดสิริสุทโธ ยังเคยมีรอยพญานาคปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งด้วย โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2527 มีรอยพญานาคขนาดกว้างประมาณ 60-70 ซ.ม. ความยาวไปเรื่อยๆคล้ายลักษณะงูเลื้อย เกิดขึ้นทั่วบริเวณวัด ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2537 และครั้งล่าสุดเกิดรอยพญานาคขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 11 ปี พ.ศ.2549 รอบศาลาวัด ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องน่าแปลกอีกเรื่องหนึ่งที่ชาวบ้านละแวกนี้เล่าให้พวกเราฟัง
3...
จากวัดสิริสุทโธ อุดรฯ พวกเราเคลื่อนย้ายพลข้ามจังหวัดตามรอยพญานาคกันต่อที่เมืองแห่งพญานาคหนองคาย ที่ “วัดโพธิ์ชัย” ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย ซึ่งเป็นวัดที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย และยังเป็นวัดที่เก็บรักษาหงอนพญานาค 2 ชิ้น ซึ่งบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าแห่งอาณาจักรล้านช้างนำมาฝากไว้ที่วัดเพื่อให้ผู้คนกราบไหว้บูชา โดยหงอนพญานาคนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมฐานยาว 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว มีรอยเป็นแนวตามความสูง 4 รอย กับ 5 รอย ฐานสีน้ำตาลเข้ม ปลายเป็นสีขาว โค้งงอเล็กน้อย ผิวขรุขระ เก็บอยู่ในตู้โชว์ ภายในพระอุโบสถ ชมพระพุทธรูปปางนาคปรกอันใหญ่โตมหึมาและความเป็นมาได้ที่ศาลาแก้วกู่ จากวัดโพธิ์ชัย พวกเราเดินทางไปต่ออารมณ์กันที่ “วัดไทย” ต.จุมพล อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เชื่อกันว่า เมืองบาดาลตั้งอยู่ใต้วัดไทยแห่งนี้ เนื่องจากนิมิตของท่านเจ้าอาวาส และปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ฝากระโปรงรถเกิดรอยแปลกๆคล้ายรอยพญานาค เป็นต้น วัดนี้จึงเป็นศูนย์กลางที่จะลงไปสู่เมืองบาดาล ศูนย์กลางของการบวงสรวง ศูนย์การของการทำพิธีต่างๆ และที่วัดไทยแห่งนี้ยังเป็นจุดชมบั้งไฟพญานาคที่สำคัญของ อ.โพนพิสัย อีกด้วยสถานที่ต่อไปในการเดินทางตามรอยพญานาคคือ “วัดอาฮงศิลาวาส” ต.ไกสี อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ที่เชื่อกันว่าเป็น แม่น้ำโขงที่ไหลผ่านวัดอาฮง ช่วงกิโลเมตรที่ 115-116 คือ สะดือแม่น้ำโขง หรือจุดที่ลึกที่สุดของลำน้ำโขง เคยวัดความลึกในหน้าแล้งได้ถึง 99 วา และยังเชื่อด้วยว่าจุดนี้เชื่อมต่อกับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เมืองคำชะโนด จ.อุดรธานี
หลังจากที่พวกเราเก็บภาพบรรยากาศสวยงามประทับใจกันริมฝั่งโขง เบื้องหลังเป็นวิวทิวทัศน์ของลาวประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงกันแล้ว ก็ไปจบเส้นทางตามรอยพญานาคกันที่ “ศาลาแก้วกู่” ต.หาดคำ อ.เมือง จ.หนองคาย สถานที่ที่เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง แสดงรูปปั้นทางศาสนาต่างๆอันใหญ่ยักษ์มากมาย รวมถึงรูปปั้นทางคติความเชื่อโบราณและนิทานพื้นบ้านด้วย โดยเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีภายในพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งนี้ มีรูปปั้นเกี่ยวกับพญานาค โดยมีตำนานเล่าว่า ในสมัยที่เจ้าชายสิทธถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุข ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจเผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่เวไนยสัตว์ ท่านได้นั่งพิจารณาธรรมอยู่ใต้ต้นจิกริมสระน้ำแห่งหนึ่ง ปรากฏว่ามีฟ้าฝนกรรโชกแรงทำให้ท่านไม่สะดวกในการปฏิบัติธรรม พญานาคเห็นดังนั้นก็เลื้อยขึ้นมาขดตัว แล้วอัญเชิญพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นประทับนั่ง และแผ่คอเพื่อป้องฝนป้องลมไม่ให้เปียกพระวรกายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางนาคปรกในปัจจุบันรอบๆเกาะคำชะโนดล้วนแต่เป็นพื้นที่โล่งกว้างผิดกับเกาะนี้ที่เป็นป่าชะโนดสูงชะลูดโดดเด่น
4…สำหรับพญานาค สัตว์กึ่งเทพที่มีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้ แต่จะกลับสู่สภาพเดิมใน 5 สภาวการณ์คือ ตอนแรกเกิด ตอนลอกคราบ ตอนสมสู่ ตอนหลับไม่ได้สติ และตอนตาย โดยมีตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ และเสด็จออกเผยแพร่พระพุทธศาสนา พญานาคได้ฟังก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงได้จำแลงแปลงกายเป็นชายมาขอบวชในพระพุทธศาสนากับพระพุทธเจ้า บ่อพญานาคที่สร้างเชื่อมต่อกับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์จริง โดยลูกไฟที่เหล่ามวลพญานาคพ่นขึ้นมาจากเมืองบาดาลนั้นมีลักษณะเป็นดวงกลมสีแดงอมชมพู พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขงไม่มีควัน ไม่มีกลิ่น หรือที่เราเรียกกันว่า “บั้งไฟพญานาค” ที่จะเกิดขึ้นในทุกๆวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีซึ่งตำนานอันเกี่ยวกับ“พญานาค” ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่เล่าขานสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นความเชื่อที่คนในท้องถิ่นนั้นๆรู้และเข้าใจกันในชุมชนของตน การจะเชื่อหรือไม่จึงเป็นเรื่องส่วนบุคคล ส่วนใครยังอยากได้อรรถรสที่เต็มอิ่มและจุใจกว่านี้ “ผู้จัดการท่องเที่ยว” ก็ขอแนะนำให้ลองเดินทางมาฟังตำนานจากปากคนท้องถิ่นและร่วมตามรอยพญานาคจากคำชะโนดถึงเมืองหนองคายกันได้ด้วยตัวท่านเอง