วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โซกพระร่วง.Sukhothai.

โซกพระร่วงลองพระขรรค์ โซกพระร่วงลองพระขรรค์ เล่ากันว่าวันหนึ่งพระร่วงออกเที่ยวป่าทางทิศใต้ของเมือง มาถึงลำธารแห่งหนึ่งมีน้ำไหลผ่านก้อนหินตะปุ่มตะป่ำเหมาะแก่การลับดาบจึงหยุดพักเพื่อจะเอาพระขรรค์มาลับกับหินเมื่อลับเสร็จได้เดินทางต่อไปโดยลัดเลาะไปตามเชิงเขาจนถึงต้นน้ำเห็นว่าเป็นอ่างน้ำขนาดใหญ่มีเขาปิดทางน้ำอยู่จึงคิดจะเปิดทางให้น้ำไหลไปยังที่นาของราษฎรจึงถอดพระขรรค์ออกมาฟันเขานั้นก็แยกเป็นสองตามคำอธิษฐานนั้นก็ไหลลงผ่านโซกเทลงไปเบื้องล่างเรียกว่าคลองเสาหอจนถึงทุกวันนี้สถานที่ที่พระร่วงลองพระขรรค์ก็มีชื่อเรียกว่าโซกพระร่วงลองพระขรรค์ส่วนหินที่ลับพระขรรค์เรียกว่าโซกหินลับมีด คำว่า โซก หรือ โตรก หมายถึงช่องลึกของเขา ร่องน้ำ โซกพระร่วง หรือ โซกพระร่วงลองพระขรรค์ มีลักษณะและประวัติความเป็นมา คือ จากหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้กล่าวถึงทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัยว่ามี สรีดภงส์ คือ ทำนบกั้นน้ำ ชาวเมืองเรียกว่า ทำนบพระร่วงทางด้านทิศใต้ของทำนบพระร่วงนี้ เป็นทิวเขาพระบาทใหญ่ต่อกับทิวเขาประทักษ์ถึง โซกพระร่วงลองพระขรรค์ ยาวประมาณ ๖ กิโลเมตร มีเขาตะโหงกงัวคั่นอยู่กึ่งกลางระหว่างทิวเขาทั้งสอง พื้นที่บริเวณหุบเขานี้จึงเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ชาวบ้านเรียก โตรกเขา หรือ โกรกเขา ว่า "โซก" คือ เป็นที่ทางน้ำไหลมารวมกัน ดังนั้น โซกพระร่วงจึงเป็นที่รวมของต้นน้ำ โซกพระร่วงลองพระขรรค์ มีต้นน้ำอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทำนบพระร่วงมีความยาวแปดกิโลเมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาหิน ตั้งสูงชันมากถึง ๔๐ เมตร ขนาบอยู่ทั้งสองข้างเหตุที่มีลักษณะเช่นนี้ผู้เชี่ยวชาญธรณีวิทยาได้อธิบายว่า รอยแตกของโซกพระร่วงนี้ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวการหดตัวของหินหรือถูกบีบอัดจากการเกิดแผ่นดินไหวจนทำให้ ผิวธรณีฉีกขาด ลักษณะการฉีกขาดของหินควอทไซท์นั้นจะขาดในแนวตรง ส่วนตอนบนของเขาเป็นหินฟิลไลท์ซึ่งผุพังพลายได้ง่ายจึงผุกร่อน ต่อมาจึงกลายเป็นร่องน้ำไหลลงโซกเขากลายเป็นโซกพระร่วงลองพระขรรค์ ซึ่งมีลักษณะที่แปลก จึงชวนให้คิดจินตนาการเป็นตำนาน เล่าขานเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติอันมหัศจรรย์นี้ ตำนานที่เล่าเกี่ยวกับโซกพระร่วงนี้ คือ พระร่วงเจ้าเมืองสุโขทัยเสด็จออกประพาสป่าไปตามเชิงเขา ทอดพระเนตรธรรมชาติ นอกเมืองทางทิศใต้จนถึงโซกซึ่งเป็นอ่างขนาดใหญ่ มีเขาปิดกั้นทางน้ำอยู่พระองค์จึงตั้งจิตอธิษฐานแล้วฟันดาบลงไป เพื่อเปิดทางน้ำให้แยกออก จะได้มีน้ำหล่อเลี้ยงอาณาประชาราษฏร์ จึงทำให้เขาแยกจากกันเป็นที่น่าอัศจรรย์ 

1 ความคิดเห็น:

เรียนรู้ผู้คนจากคำพูดเสมอ.

แผ่นศิลาจารึกพระนาม  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติผาแต้ม วันที่  20 พฤษภาคม พ.ศ. 2531...